เลือกตั้งสหรัฐฯ - ทำไมต้อง Electoral Vote? ทำไมต้อง Winner Takes All? แล้วมันคานอำนาจได้ยังไง? - KJ's E V E R Y T H I N G

KJ's   E V E R Y T H I N G

A place where I collect the pieces of my memory.

Latest

Home Top Ad

Sunday, January 24, 2021

เลือกตั้งสหรัฐฯ - ทำไมต้อง Electoral Vote? ทำไมต้อง Winner Takes All? แล้วมันคานอำนาจได้ยังไง?

        แม้จะออกดีเลย์ไปสักหน่อย เพราะวันที่โพสต์นี้ 24 มกราคม 2564 (ค.ศ. 2021) โจ ไบเดน เป็นประธานาธิบดีไปเรียบร้อยแล้ว และเริ่มทำงานเป็นวันที่ 3 (รึเปล่านะ?) หลังเข้ารับตำแหน่ง 21 มกราคม และย้ายเข้าไปยัง White House แต่จากการเมืองสุดร้อนแรง และยังแรงต่อเนื่องไม่หยุดตั้งแต่ปีที่แล้ว ซึ่งสหรัฐฯ เปลี่ยนประธานาธิบดีไปแล้ว เราก็ยังมีคุณลุงคนเดิมดูแลประเทศอยู่ ซึ่งก็คาดว่า ไบเดนออกไปแล้ว คุณลุงก็อาจจะยังคงอยู่ต่อไป เลยเกิดคำถามที่ว่า เอ...ทำไมระบบการทำงานของประเทศเขามันคานอำนาจกันยังไง? การจะรู้ได้ เราเลยไปศึกษาข้อมูลการเลือกตั้งสหรัฐฯ มาดูกันหน่อยดีกว่า


กว่าจะเลือกตั้ง มันเป็นมายังไง?

        ก่อนจะเลือกตั้งประธานาธิบดี แต่ละพรรคต้องมีการหยั่งเสียง หรือเลือกตั้งขั้นต้น ที่เรียกว่า Caucas กับ Primary เพื่อคัดเลือกตัวแทน จากนั้นจะมีประชุมใหญ่ของพรรค เพื่อลงคะแนนโหวตตัวแทนที่จะลงสมัครไปลุ้นตำแหน่ง ประธานาธิบดี ซึ่งคนที่จะโหวตได้มีเพียงสมาชิกพรรคเท่านั้น ซึ่งโดยปกติในสหรัฐฯ ก็จะมีอยู่ 2 พรรคใหญ่อย่าง เดโมแครต - ฝ่ายซ้าย สีน้ำเงิน หรือที่เรียกว่ากลุ่มก้าวหน้า เสรี สนับสนุนรัฐสวัสดิการ กับ รีพับลิกัน - ฝ่ายขวา สีแดงประจำพรรค ที่เป็นอนุรักษ์นิยม/ทุนนิยมเสรี (ซึ่งการเป็นซ้าย-ขวา ในโลกประชาธิปไตย มันไม่เหมือนซ้าย-ขวา ที่เราเรียกกลุ่มคอมมิวนิสต์ ฟาสซิสต์)




        เมื่อได้ตัวแทนแต่ละพรรคแล้ว ก็จะเริ่มหาเสียง จะมีเวลาประมาณ 1 ปี ในการระดมทุน หาเสียง จนถึงวันเลือกตั้ง โดยการเลือกตั้งจะมีการเรียกหลักๆ 2 แบบคือ Electoral Vote กับ Popular Vote


Electoral Vote ต่างจาก Popular Vote ยังไง?

        การเลือกตั้งสหรัฐฯ จะใช้ระบบ Electoral Vote โดยประชาชนจะเป็นผู้เลือก 'คณะตัวแทนเลือกตั้ง' (Electoral College) จากแต่ละรัฐขึ้นมา แล้วตัวแทนเหล่านี้ก็คือส.ว. และส.ส. ไปเลือกประธานาธิบดีอีกที แต่ว่าในแต่ละรัฐ จะมีจำนวนผู้แทน ส.ส. ไม่เท่ากัน ตามแต่จำนวนประชากรในรัฐนั้นๆ แต่ส.ว. จะมีรัฐจะ 2 คน อย่างเช่น แคลิฟอร์เนีย รัฐใหญ่ มีที่นั่งถึง 55 ที่นั่ง ก็จะมีโควต้ามากกว่า รัฐเล็กๆ พวก Montana, New Mexico ที่มีเพียง 3-5 ที่นั่ง

        ส่วน Popular Vote เป็นการดูคะแนนโหวตเลือกที่แท้จริง ก็คือดูรายคนว่าเลือกพรรคไหน พรรคไหนมากกว่า ดังนั้นเมื่อเลือกตั้งเสร็จ ก็จะมีการเทียบว่า คนนี้ชนะ Popular Vote แต่ไม่ชนะ Electoral vote และทำให้เขาไม่ได้เป็นประธานาธิบดี เพราะแพ้ Electoral Vote อันเนื่องมากจาก หลายรัฐใช้ระบบ Winner Takes All



Winner Takes All คืออะไร?

        มันคือระบบการเลือกที่ตั้งที่ 'พรรคไหนชนะในรัฐนั้น ได้ที่นั่งทั้งหมดไปทันที' สมมติว่ารีพับลิกัน แพ้คะแนน Popular Vote ไป 10 เสียงในรัฐนั้น เขาจะไม่มาเฉลี่ยเป็นเปอร์เซ็นว่า พรรคนี้ได้คะแนนเท่านี้ ได้กี่ที่นั่ง ถ้าเดโมแครตชนะในแคลิฟอร์เนีย เดโมแครตได้ไปเลย 55 ที่นั่ง ซึ่ง 55 ที่นั่งนี้ก็จะเลือกเดโมแครตเป็นประธานาธิบดี ซึ่งในสนามเลือกตั้งอเมริกา เราคงไม่เห็นงูเห่าที่บอกว่าอยู่พรรคนี้ คนเลือกพรรคขึ้นมาเป็นตัวแทนรัฐแล้ว แต่สุดท้ายไปเลือกอีกพรรคนึง เราจึงคาดได้จำนวนได้เลยว่าพรรคไหนชนะรัฐไหน จะได้กี่คะแนนเสียง

        คะแนนรวมทั้งหมดจะมี 583 เสียง ถ้านับคะแนนไปเรื่อยๆ พรรคไหนได้คะแนนเสียงถึง 270 ก่อน ก็จะรู้ผลทันทีว่าพรรคนั้นได้ตำแหน่งประธานาธิบดีไป

        ซึ่งระบบ Winner takes all จะไม่ได้ใช้กับทุกรัฐในอเมริกา ยกเว้นเพียง 2 รัฐ Nebraska กับ Maine ที่จะแบ่งเป็นเขต แล้วเลือกตัวแทนมาตามเขต


        ระบบนี้ทำให้น่าสนใจว่าหลายครั้งคนชนะ Popular Vote ที่หมายความว่าคนส่วนมากเลือกเยอะ กลับไม่ได้ตำแหน่งประธานาธิบดี เพราะจำนวนรัฐที่ชนะนั้นน้อยกว่า เลยทำให้แพ้ Electoral Vote เช่น ชนะแคลิฟอเนียร์รัฐเดียว คนเลือกเยอะจนเป็น Popular Vote ก็จริง มีที่คะแนน 55 เสียง แต่รัฐเล็กๆ อีกพรรคชนะ กลายเป็นมีหลายๆ คะแนนรวมกัน ได้มากกว่า 55 เสียง จนถึง 270 ก่อน พรคคนั้นเลยเป็นประธานาธิบดีแทน เช่นกรณีของ อัลกอร์ กับ จอช ดับเบิลยู บุช หรือ ฮิลลาลี คลินตัน กับ โดนัล ทรัมป์ เป็นต้น หรือในสมัยของ โธมัส เจฟเฟอร์สัน เคยเกิดเหตุการคะแนนเสียงเท่ากัน 269 : 269 จึงจะพิจารณาจากจำนวนรัฐ ว่าพรรคใดได้เสียงสนับสนุนส.ส.เกิน 25 รัฐ ก็จะได้ตำแหน่งประธานาธิบดี 


ความสนุกของระบบนี้คือการลุ้นคะแนนในรัฐที่ไม่แน่นอน

        แน่นอนว่ารัฐใหญ่ๆ หลายรัฐคาดเดาได้ง่ายมากว่าพรรคใดจะชนะ อย่าง แคลิฟอร์เนีย นิวยอร์ค หลายรัฐคือรู้อยู่แล้วว่าจะเป็นเดโมแครต หรือ รีพับลิกัน ความสนใจเลยไปอยู่ที่ 'รัฐก้ำกึ่ง' (Swing State) นักการเมืองเอง หรือนักข่าว จึงเน้นไปหาเสียงหรือโฟกัสกับข่าว เสียงประชาชนในรัฐนั้นๆ ซะมาก เพราะมีผลต่อคะแนน  อย่างรัฐ Florida, Michiga, Iowa หรืออย่างปีนี้รัฐที่แดงจ๋า รีพับลิกันอย่าง Texas ก็มีความเอนเอียง ทำตัวเป็น Swing state จากผลโพลล์ที่สำนักข่าวทำมา ทำให้เวลานับผลคะแนน ถ้ารัฐเหล่านี้นับเรียบร้อย เราก็สามารถสรุปผลคร่าวๆ ได้ทันทีว่าใครจะชนะ

อ่านแบบสรุปรวบยอด


ประธานาธิบดี ส.ส. ส.ว. แล้วมันคานอำนาจกันยังไง?

        แม้เราจะมองกว่า ที่นั่งในสภาหลังจากเลือกมาแล้ว คะแนนเสียงมันจะเอียงไปทางพรรคเสียงข้างมาก ฉะนั้นทำอะไรพรรคนั้นก็จะได้คะแนนชนะ แต่จริงๆ แล้วบางครั้งพรรคในสภาอาจจะไม่ใช่พรรคของประธานาธิบดี เช่น กรณีทรัมป์กับฮิลลารี ที่มีเสียงข้างมากในระดับส.ว. เพราะได้มารัฐละ 2 คน จำนวนรัฐเยอะกว่า แต่มาผ่านพิจารณาที่สภาผู้แทนฯ กลับมีเสียงข้างพรรคตัวเองน้อยกว่า เพราะฮิลลาลีชนะในรัฐใหญ่ ที่มีปริมาณผู้แทนมากกว่า และระบบของการปกครองแบบนี้ มันคานอำนาจด้วยตัวมันเอง ยิ่งถ้าอยู่บนประชาธิปไตยจริงๆ เราก็จะเห็นหลายเสียงของแต่ละพรรคที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับแต่ละหัวข้อ 


        ระบบนี้จะมี ฝ่ายบริหาร ซึ่งก็คือประธานาธิบดี และมีทีมบริหารที่แต่งตั้ง ตามกระทรวงต่างๆ ซึ่งเมื่อแต่งตั้ง ก็ต้องไปผ่านระบบนิติบัญญัติให้อนุมัติอีกที


        ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ ส.ส. และส.ว. ซึ่งทั้งหมดมาจากการเลือกของประชาชน จะมีสภาคองเกรส (Congress) โดยเขาจะแยกเป็นวุฒิสภา (Senate) หรือ สภาสูง (ซึ่งเมื่อก่อนเรียกกันมา โดยเรียกตามชั้นที่อยู่) ดำรงตำแหน่ง 6 ปี มีรองประธานาธิบดีเป็นประธานวุฒิสภา ด้านส.ส. เป็นฝั่งสภาผู้แทนราษฎร ดำรงตำแหน่ง 2 ปี ดังนั้นจะมีการผลัดเปลี่ยนกันเข้าออก และประชาชนต้องเลือกตั้งกันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งฝ่ายนิติบัญญัติ มีหน้าที่ตรวจสอบ ตรากฎหมาย และสามารถกล่าวโทษ ฟ้องร้องให้ข้าราชการออกจากตำแหน่งได้หากพบสิ่งที่น่าสงสัย 

        อย่างกรณีที่เคยเกิดขึ้น เช่น คดี Watergate สมัยประธาธิบดี Nixon ที่เป็นการโจรกรรม เมื่อสืบไปสืบมาพบว่า Nixon มีการรู้เห็น และเป็นการโจรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการระดมทุนเลือกตั้งสมัยที่ 2 ของ Nixon สุดท้าย Nixon ก็ชิงลาออกก่อน ในช่วงที่สภามีการฟ้องร้อง และวุฒิสภาเตรียมมีการลงโทษ แต่สุดท้ายก็มีการไต่สวน และมีผู้ได้รับโทษไปตามระเบียบ และน่าสนใจที่ว่ากรณีนี้ มีการติดตามจากสำนักข่าว The Washington Post อย่างต่อเนื่อง ทำให้ FBI ต้องทำหน้าที่ตรวจสอบอย่างละเอียด และพิสูจน์ตนเองว่าไม่ได้มีอำนาจภายใต้ Nixon


        ฝ่ายตุลาการ หรือศาล ในสหรัฐฯ เองก็มีการเลือกตั้งมาจากประชาชน โดยจะเลือกในระดับท้องถิ่น และในระดับรัฐ ศาลกลางก็จะมี 3 ศาลที่แม้มาจากการเลือกของประธานาธิบดี แต่ก็ต้องผ่านการรับรองของวุฒิสภา ที่มีการคานอำนาจกันในระบบอยู่แล้ว

        ความน่าสนใจคือ ทุกครั้งในการพิจารณาร่างต่างๆ ก็ต้องผ่านนิติบัญญัติ หรือหากเรื่องมาจากคำสั่งศาลเอง หากไม่ถูกต้อง ฝ่ายนิติบัญญัติก็มีสิทธิในการคานอำนาจจากศาล ท้วงติง หรือแก้ไขข้อกฎหมาย เพราะศาลอาจจะไม่ใช้คำตัดสินสูงสุดที่ต้องเชื่อฟังเสมอ แต่ทั้งหมดทั้งมวลคือต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญที่ตราเอาไว้

                หลายครั้งที่จะเห็นว่าอเมริกันหลายคนอาจจะไม่ได้สนใจตำแหน่งส.ส. หรือส.ว.ในสภามาก เพราะเลือกเข้าไป เขาก็จะมีระบบถ่วงดุล ตรวจสอบกันเองอยู่แล้ว และเป็นระดับประเทศ อเมริกันหลายคนเลือกจะสนใจผู้บริหารในรัฐของตนเองมากกว่า เขาเลือกตั้งกันเกือบตลอดเวลา และเนื่องจากการบริหารแบบแยกรัฐ กระจายอำนาจ ฉะนั้นคนจึงโฟกัสที่การบริหารส่วนท้องถิ่นกันมากกว่า กฎหมายในแต่ละรัฐก็แตกต่างกันไป ว่าใครบริหารเมืองตัวเองดี ก็สนับสนุนคนนั้นเป็นต้น

แต่ละรัฐมีแพลนต้องเลือกตั้งกันตลอดเวลา

พูดถึงอเมริกาแล้ว ฝั่งประชาธิปไตยแบบอังกฤษล่ะ?

        อังกฤษเองก็มีระบบรัฐสภาคล้ายคลึงกัน เพียงแต่ส.ว. ของฝั่งอังกฤษจะมาจากการแต่งตั้ง ซึ่งอาจจะเอ๊ะว่า เหมือนบ้านเราเลยนี่หน่า แล้วเขาจะคานอำนาจกันยังไง... ไม่ยาก เพราะส.ว.ฝั่งอังกฤษนั้น เป็นการแต่งตั้งจากหลายแบบ มีทั้งเป็นเชื้อสายขุนนางสืบทอด แต่งตั้งจากคุณงามความดี สาเหตุต่างๆ กันไป ทั้งหมดมีอำนาจน้อยกว่าส.ส. ไม่สามารถแก้ไขกฎหมายบางมาตราได้ หรือได้แค่แสดงความคิดเห็น ออกเสียง แต่ตัดสินไม่ได้ เป็นต้นยิ่งเวลาผ่านไปก็จะมีปรับลดอำนาจให้น้อยลง ให้เข้ากับโลกแต่ละยุคสมัย ซึ่งต่างจากของสหรัฐฯ ที่ส.ว.มีอำนาจมากกว่าเพราะมาจากเสียงของประชาชนล้วนๆ


        เข้าใจการเลือกตั้งกันเรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปคงต้องไปมองว่าการบริหารจะเป็นอย่างไรบ้าง แต่ว่าสำนักข่าวหลายหัวต่างพาดหัวข่าวว่าการทำงานวันแรกของไบเดน คือการเก็บกวาดที่ทรัมป์ทำไว้ ซึ่งน่าตลกดีที่เราเคยเขียน สิ่งที่ทรัมพ์ทำไว้จนคนต่อต้าน และเกิด Hashtag เด็ดๆ มากมายในช่วงเริ่มต้นสมัย 

        จนมาเพียงวันแรก ไบเดนก็จัดการยกเลิกเกือบทุกอย่าง จนพาลคิดถึงบ้านเราเหมือนกันว่า ไบเดนทำงานวันเดียวนั้นเยอะกว่าที่คุณลุงทำมาหลายปีรึเปล่า




No comments:

Post a Comment